วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เกจิประจวบคีรีขันธ์ หลวงพ่อพาน วัดเฉลิมราษฎร์ (โป่งกระสัง) อำเภอกุยบุรี


ประวัติ หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดเฉลิมราษฎร์ (โป่งกระสัง) อำเภอกุยบุรี

ประวัติ หลวงพ่อพาน สุขกาโม พอสังเขป หลวงพ่อพาน เดิมชื่อ พาน เป็นชาวจังหวัดเพชรบุรีโดยกำเนิด เป็นพี่น้องกับหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลืองและได้บวชเรียนที่วัดหนองไม้เหลืองเพชรบุรี หลวงพ่อพานได้มาจำพรรษาที่วัดโป่งกะสังและเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ยังเป็นสำนักสงฆ์ หลวงพ่อพานท่านเป็นพระปฏิบัติมีความมุ่งมั่นในการก่อร่างสร้างวัดโป่งกะสังที่ยังไม่มีอะไรเลย ให้เป็นวัดที่มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมายจากบารมีของท่าน ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2539รวมอายุ 84 ปี
หลวงพ่อพาน เกิด วันที่ ธันวาคม พ.ศ.2454 ในสกุล พุ่มอำภา เป็นชาวบ้านกล้วย ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี อุปสมบท ณ.พัทสีมา วัดหนองไม้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2475 หลวงพ่อพานเป็นชาวจังหวัดเพชรบุรีโดยกำเนิด เป็นพี่น้องกับหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลืองและได้บวชเรียนที่วัดหนองไม้เหลืองเพชรบุรีหลวงพ่อพานได้มาจำพรรษาที่วัดโป่งกะสังและเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513ยังเป็นสำนักสงฆ์ หลวงพ่อพานท่านเป็นพระปฏิบัติมีความมุ่งมั่นในการก่อร่างสร้างวัดโป่งกะสัง ที่ยังไม่มีอะไรเลย ให้เป็นวัดที่มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมายจากบารมีของท่าน ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2539รวมอายุ 84 ปี หลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง ท่านเป็นพระที่เก็บตัว วัดของท่านแทบจะเรียกว่าอยู่ในป่าก็ว่าได้ ทำให้ท่านไม่เป็นที่รู้จักของคนต่างถิ่นมากนัก แต่ในท้องที่กุยบุรีแล้วท่านเป็นอันดับหนึ่งเรื่องคงกระพันชาตรี เหรียญรุ่นแรกของท่านสร้างในปี พ.ศ.2519 สุดยอดมหาอุตม์ตลอดกาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ 2490ต้องยกให้หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ช่วงปี พ.ศ. 2490 - 2520 ต้องยกให้หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์หลังจากหลวงพ่อท้วม ก็จะเป็นหลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อยและหลวงพ่อฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ เจ้าแห่งปลัดขิก หลวงพ่อพาน ท่านเป็นพระที่อยู่ในยุคเดียวกันกับหลวงพ่อนิ่ม และหลวงพ่อฟัก แต่ท่านจะอ่อนอาวุโสกว่าทั้งสองท่าน ท่านจะมีอาวุโสมากกว่า หลวงพ่อยิด วัตถุมงคลของ หลวงพ่อพานนอกจากเหรียญรุ่นแรแล้วสิ่งที่เป็นสุดยอดแห่งความต้องการของบรรดา ลูกศิษย์ ก็คือตะกรุดโทน ท่านค่อนข้างพิจารณาแจก หลวงพ่อยิดยกย่อง หลวงพ่อพาน เรียกพี่ตลอด หลวงพ่อยิดท่านว่า ของฉันเก่งก็เก่งจริง แต่ถ้าทำไม่ดี เดี๋ยวคุ้มไม่ได้ ของหายบ้าง เสื่อมบ้าง อะไรบ้างแต่ของหลวงพ่อพาน คุ้มได้หมด ขนาดยิงกรอกปากฟันหักลูกกระสุนตกหล่นอยู่ในปากไม่สามารถเอาชีวิตคนที่แขวน พระเครื่องหลวงพ่อพานได้เลย รอดตายราวปฏิหาริย์ อันตะกรุดท่านนั้น ท่านจะลงจารเองทุกดอก และจะลงในพรรษาเท่านั้น แม้หลวงพ่อเมี้ยน วัดหนองข้าวเหนียว ศิษย์ หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ก็บอกว่าหลวงพี่พาน ท่านลงน้อยเกินเนอะ ทำแค่ในพรรษาและทำแค่ 108 ดอกเอง อันตะกรุดท่านนั้น แม้ดอกเล็กๆ ก็มีประสบการณ์มาก สำหรับตะกรุดโทน มีตำรวจ ที่เมืองเพชร เอาไปใส่ในกระป๋องนม แล้วล้อมยิงสิบกว่กรบอก ยิงไม่ถูกเลย หลวงพ่อยิดจึงยกย่องมาก ประสบการณ์พระเครื่องหลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง -เรื่องนี้เกิดขึ้นในราวปี 2549 น.ส.วิไลวรรณ อายุ 19 ปี ป่วยเป็นโรคประจำตัวคือ ปวดหัวบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ มาวันหนึ่งเกิดป่วยขึ้นมา ผู้เป็นแม่ พาส่ง ร.พ.ประจวบฯ โดยแพทย์ได้ฉีดยาให้ผลปรากฎ เกิดอาการช็อกต้องหามส่งห้อง ไอ.ซี.ยู.แพทย์ ช่วยกันปั๊มหัวใจ ผลปรากฎว่า "เครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจ" สงบนิ่ง แพทย์ พยาบาล จึงออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.เหลืออยู่ คนเดียว ผู้เป็นแม่จึงโทรศัพท์ หาสามี บอกลูก ตายแล้ว สามีตกใจ ใส่เสื้อผ้า และ หยิบเหรียญหลวงพ่อพาน ขึ้นเหนือหัว "หลวงพ่อครับ ขอให้ลูกผม ฟื้นชีวิตมาเถิดครับหลวงพ่อ" ผมจะบวชให้หลวงพ่อ และความเจ็บที่ลูกเคยเป็น ผมขอเป็นแทน เชื่อหรือไม่ ไม่ถึง นาที ลูกฟื้นครับ และตอนนี้พ่อบวชแก้บนอยู่ที่วัด โป่งกระสัง ส่วนความเจ็บปวดลูกหายเด็ดขาด พ่อกลับเป็นแทน ขอขอบคุณ พระบุณเลิศ -เรื่องเกิดที่โป่งกะสังคำสารภาพของจำเลย เรื่องมีอยู่ว่า นายตุ๋น เป็นสามีของนางอี๊ด ต่อมานางอี๊ดแอบมีชู้ จึงให้ชู้เอาปืนมายิงสามีตนเองที่บ้าน ครั้งแรกยิงด้วยขนาด 11 มม. ผลปรากฎยิงไม่ออก ชู้จึงให้นางอี๊ด หลอกนายตุ๋ยถอดหลวงพ่อพาน รุ่น ออก จึงยิงด้วยปืน เอ็ม 16 อีกครั้งหนึ่ง ตาย ต่อมาตำรวจตามจับกุมชู้ได้ จึงให้การรับสารภาพ -นายเทียน ปัจจุบันอายุ 55 ปี เล่าว่า ตอนนั้นประมาณปี 2522 ตนเองทำงานอยู่ รวมไท (เลยวัดไป) ตอนนั้นเป็นทางลูกรัง ตกเย็นตอนกลับจากไร่ ผ่านหน้าวัดฯ เห็นหลวงพ่อพานยืนอยู่หน้าวัด แต่ไม่ได้จอดรับเพราะรถเต็ม จึงขับผ่านไป พอมาถึง แยก เจอหลวงพ่อพาน ยืนอยู่ นายเทียนตกใจ ขนลุกซู่ไปทั้งตัว หลวงพ่อฯ มาก่อนเราได้อย่างไร เพราะไม่มีรถแซงเราเลย เป็นทางเลนเดียว คิดอยู่หลายวันก็คิดไม่ออก พี่เทียนให้ข้อมูล -นายสน คนขับรถนายอำเภอกุยบุรี คนปัจจุบัน ดื่มเหล้าแล้วคุยกันเรื่องพุทธคุณของวัตถุมงคลหลวงพ่อพาน จึงนึกอยากลอง จึงนำเหรียญเงิน รอบ ไปผูกไว้กับต้นมะพร้่าว ยิงด้วยปืนขนาด .22 แม็กนั่ม 2 นัด(ยิงไปที่เหรียญ) ยิงไม่ออก พอยิงขึ้นฟ้ากลับยิงออกทั้ง นัด -ด.ช.จุก พ่อแม่ฝากลุงเลี้ยงไว้ ตอนเกิดเหตุอยู่คนละฝั่งถนนกับลุง ผู้เป็นลุงเห็นรถปิคอัพ จึงตะโกนบอกหลาน "ระวังรถนะไอ้จุก" ไอ้จุกไม่ได้ดูรถวิ่งข้ามถนนมาทันที จึงถูกรถชน จากด้านหน้า เข้าไปใต้ท้อง ลากไปยาวประมาณ เสาไฟฟ้า ด.ช.จุก หลุดออกมาทางด้านหลังรถแล้วลุกขึ้นวิ่งไปหาลุง ร้องไห้เสียใจเพราะเสื้อขาด กลัวแม่ตี แต่ตามเนื้อตัวกลับ ไม่เป็นอะไรเลย ในคอมีเหรียญ หลวงพ่อพาน -มีลุงคนหนึ่งบ้านอยู่ปลายน้ำ ต้องขับรถ จยย.ไปทำไร่ ที่อยู่เลย วัดโป่งกระสังไป เห็นหลวงพ่อพานเดินอยู่ข้างถนน จึงสอบถามหลวงพ่อพาน ว่าไปกับผมไหมครับ หลวงพ่อตอบไม่ไป เป็นอย่างนี้ประมาณ ครั้ง พอครั้งนี้ลุงก็ถามเหมือนเดิม แต่หลวงพ่อกลับพูดว่า "ก่อนไปไร่แวะที่วัดก่อนนะ" ลุงตอบตกลง ลุงก็ขับรถจยย. ไปเรื่อย พอมาถึงวัด เดินเข้าไปในกุฏิ พบหลวงพ่อพาน นั่งรออยู่แล้ว ลุงตกใจมาก่อนเราได้อย่างไร หลวงพ่อจึงมอบตะกรุดให้ลุงมา -หลวงพ่อพาน บอกกับพี่ใบและศิษย์ใกล้ชิดเสมอว่า " ของท่าดีจริงต้องลองได้ " หลวงพ่อพานออกมากี่รุ่น จะมีต้นมะขามเทศข้างวัด เอาไว้แขวนวัตถุมงคลแล้วจอยิงในระยะใกล้ (ยังไงก็โดน) ต้นมะขามเทศยังไม่ถูกเลย - -ประสบการณ์กำนันเนี้ยวถูกถล่มด้วยอาก้า โดน17เม็ดแต่ไม่เป็นอะไรเลยนอกจากรอยจ้ำๆสีแดง แกเคยถอดเสื้อให้ดู แกแขวนตะกรุดกับเหรียญหลวงพ่อพานติดตัวเสมอ -คนข้างวัดถูกยิงแต่ยิงไม่ออก คู่อริจึงจับยิงกรออกปากเปิดทวาร คนถูกยิงกรออกปากฟันหักแต่กระสุนกลับหล่นอยู่ในปาก และปืนก็เสียใช้งานไม่ได้ ปกติยิงเบิกทวาร ไม่มีเหลือ -เหรียญหล่อนั่งพานรุ่นแรก หลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง รุ่นนี้หลวงพ่อตั้งใจทำ ท่านนำแผ่นตะกรุดโทนไปหล่อเป็นมัดเลย

เกจิประจวบคีรีขันธ์ หลวงพ่อทองเบิ้ม วัดวังยาว กุยบุรี


ประวัติพระวิริยากรโกศล (หลวงพ่อทองเบิ้ม)

            นามเดิม  ทองเบิ้ม  นามสกุล  ลิบลับ  เกิดวันอาทิตย์  ที่  ๔  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๕๔  ตรงกับวันขึ้น  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๒  ปีกุน  ชาติภูมิอำเภอกุยบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  นามบิดา  ม่องลั่น  ลิบลับ  นามมารดา  นางพิม  ลิบลับ  ได้อุปสมบทเมื่อวันอังคาร  ขึ้น ๒  ค่ำ  เดือน ๑  ปีวอก  ตรงกับวันที่  ๒๙  พฤศจิกายน  ๒๔๗๕  ณ  วัดวังยาว  ตำบลกุยบุรี  อำเภอกุยบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยมีพระสุเมธีวรคุณ  (เปี่ยม  จนฺทโชโต)  อดีตเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  วัดเกาะหลัก  ต.เกาะหลัก  อ.เมือง  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นพระอุปัชฌาย์
            ในปี  พ.ศ. ๒๔๘๖  ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม  ที่วัดวังยาวสอบได้นักธรรมชั้นตรี  และในปี  พ.ศ. ๒๕๑๓  สำเร็จการอบรมโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง  รุ่นที่ ๑
            ปัจจุบัน  ท่านได้มรณภาพ  เมื่อวันที่  ๒๔  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๒ 
งานปกครอง
พ.ศ.  ๒๔๗๙   ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส  วัดวังยาว  และผู้รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลกุยบุรี
พ.ศ.  ๒๔๘๐   ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดวังยาว  และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลกุยบุรี
พ.ศ.  ๒๔๘๓  ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ตำแหน่งสาธารณูปการ
พ.ศ.  ๒๔๙๐   ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์
พ.ศ.  ๒๔๙๓   ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.  ๒๕๐๖   ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลกุยบุรี  อีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ.  ๒๕๐๘   ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอกุยบุรี
พ.ศ.  ๒๕๐๙   ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอกุยบุรี
งานศึกษา
พ.ศ.  ๒๔๗๙   เป็นเจ้าสำนักเรียนปริยัติธรรมวัดวังยาว
พ.ศ.  ๒๔๘๒   เป็นประธานสนามสอบปริยัติธรรมสนามหลวงในตำบลกุยบุรี  สอบที่วัดวังยาว
พ.ศ.  ๒๔๙๘   เป็นผู้อุปการะโรงเรียนบ้านปากเหมือง  วิริยสงเคราะห์  และโรงเรียนวัดวังยาว  (เดิมโรงเรียนบ้านวังยาว  และโรงเรียนกุยบุรี  รวมกัน)
พ.ศ.  ๒๔๙๘   ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจประโยชคธรรมสนามหลวง
สมณศักดิ์
พ.ศ.  ๒๔๙๐   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์  ที่พระครูวิริยาธิการี  พระครูสัญญบัตร  กรรมการสงฆ์  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ตำแหน่งสาธารณูปการ
พ.ศ.  ๒๕๐๕   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะยก  ที่  พระวิริยากรโกศล

ท่านได้มรณภาพลง ในวันที่  ๒๔  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๒  นับตั้งแต่ท่านมรณภาพลงนั้น  เจ้าอาวาส
รูปปัจจุบัน  และศิษยานุศิษย์  ได้บำเพ็ญกุศลให้ท่าน ในวันที่  ๒๔ พฤศจิกายน  ของทุกๆ ปี  ในปีนี้ พ.ศ. 
๒๕๕๕  เป็นปีที่  ๑๓  แล้ว  โดยที่ชาวบ้านทั่วไปกล่าวขานและยกให้ท่านศักสิทธิ์เรื่อง "ปากพระร่วง"  
วาจาท่านศักสิทธิ์ยิ่งนัก  ที่สำคัญสรีระของท่านยังไม่เน่าเปื่อยอีกด้วย  

เกจิประจวบคีรีขันธ์ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก อำเภอกุยบุรี

รูปหลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก


ประวัติพระครูนิยุตธรรมสุนทร หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก พระเกจิเมืองประจวบ 

"หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน" หรือ "พระครูนิยุตธรรมสุนทร" แห่งวัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ได้รับความเลื่อมใสความศรัทธาจากชาวประจวบคีรีขันธ์อัตโนประวัติหลวงพ่อยิด มีนามเดิมว่า ยิด ศรีดอกบวบ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2476 โยมบิดา-มารดา ชื่อนายแก้วและนางพร้อย ศรีดอกบวบ อายุ 9 ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ในวัดบ้านเกิด ฝึกปฏิบัติสมาธิ ศึกษาอักขระเลขยันต์ ศึกษาพระธรรมวินัย กระทั่งอายุ 14 ปี ได้ลาสึกออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่อินทร์ วัดยาง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ศุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม และยังได้ออกธุดงควัตรไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งได้เดินเท้าเข้าไปในฝั่งประเทศพม่า เป็นต้น จนกระทั่งปี พ.ศ.2487 บิดาของท่านได้ป่วย หลวงพ่อยิด ท่านจึงเดินทางกลับมา ด้วยความกตัญญูรู้คุณ ท่านจึงได้ลาสิกขาออกมาดูแลบิดาและมารดา ที่แก่ชรา และได้แต่งงานมีครอบครัว ท้ายที่สุด เมื่อโยมบิดา-มารดา ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2518 ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ที่วัดเกาะหลัก โดยมีเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาชาวบ้านหนองจอก ต.ดอนยายหนู ทราบข่าวจึงยกที่ดินให้จำนวน 21 ไร่ 2 งาน เป็นพื้นที่ป่า เพื่อให้ท่านสร้างวัดขึ้น หลวงพ่อยิดได้ปลูกกุฏิหลังเล็ก เป็นที่พักสงฆ์ ส่วนญาติโยมได้ช่วยกันถางป่า จนเป็นสถานที่รองรับการประกอบพิธีทางศาสนา หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ได้รับความศรัทธาจากนายทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ประชาชน เป็นจำนวนมาก ที่เข้ามาขอรับวัตถุมงคล อาทิ ตะกรุด พระเครื่อง ปลัดขิกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เนื่องจากเชื่อกันว่า วัตถุมงคลของท่านมีพุทธคุณเด่นในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง คาถาบูชาปลัดขิกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก อีกทั้งยังทำให้ผู้เลื่อมใสมีโชคลาภ วัตถุมงคล วัดหนองจอก จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการพระเครื่องเมืองไทยทั่วประเทศ วัตรปฏิบัติ ใน 1 ปี หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จะสรงน้ำปีละครั้งเท่านั้น โดยอนุญาตให้บรรดาญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ใช้แปรงทองเหลืองที่ใช้ขัดเหล็ก ขัดตามตัว แขนขาของท่าน แต่แปรงทองเหลืองไม่ได้ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย หลังจากขัดตัวให้ท่านแล้วเสร็จ หลวงพ่อยิด ท่านจะมอบวัตถุมงคลให้คณะศิษย์นำไปบูชากันอย่างทั่วถึงสำหรับปัจจัยที่ได้รับจากการบริจาค จะนำไปสมทบทุนการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา สังคมและชุมชน จนกลายเป็นประเพณีถือปฏิบัติของ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริรวมอายุ 71 ปี พรรษา 30 แม้หลวงพ่อยิด พระเกจิดังแห่งวัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะมรณภาพลง แต่ด้วยความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านในพื้นที่จึงได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) เพื่อบำรุง บูรณะ และปฏิสังขรณ์ ศาสนสถาน เป็นทุนภัตตาหาร การศึกษา และพยาบาล พระภิกษุ สามเณร ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ส่งเสริมและสนับสนุน ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ ปัจจุบัน มูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) มีทุนทั้งสิ้น 19,473,175.82 บาท แต่ละปีจะมีการนำดอกผลบริจาคให้กับสาธารณะมาโดยตลอด เช่นในปี 2552 นำเงินจำนวน 559,803.29 บาท มอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สงเคราะห์ผู้สูงอายุ บำรุงการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร ที่เล่าเรียนพระธรรมวินัย พร้อมทั้งบำรุงซ่อมแซมถาวรวัตถุวัดหนองจอก ค่าบำรุงการศึกษานักเรียนในเขตอำเภอกุยบุรี จำนวนทั้งสิ้น 26 โรงเรียน นอกจากนี้ ยังปรับปรุงศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านหนองจอก มอบเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ค่าอาหารเสริมให้นักเรียน ปรับปรุงห้องสมุด โรงเรียน สนับสนุนงบในการจัดทำโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพกระบวนการ การจัดการเรียนรู้ เป็นต้นคอลัมน์ อริยะโลกที่ 6 เจริญ อาจประดิษฐ์  ที่มา... ข่าวสด